อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
โหมดการเข้าถึงสำหรับผู้พิการ
ปรับขนาดตัวอักษร
ภาษา
แหล่งท่องเที่ยว
ศาลเจ้าพ่อจุ้ย
คะแนนโหวต 3.17/5 คะแนน จากผู้โหวต 6 ท่าน

ศาลเจ้าพ่อจุ้ย บางบัวทอง ตั้งอยู่ บริเวณริมคลองพระพิมลราชา ฝั่งทิศใต้ หลังตลาดสดเทศบาลเมืองบางบัวทอง ตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี

.

ศาลเจ้าพ่อจุ้ย บางบัวทอง เป็นที่ประดิษฐานเจ้าพ่อจุ้ย-เจ้าแม่ทองคำ พระอวโลกิเตศวรกวนอิมโพธิสัตว์ และเทพเจ้าไฉ่ซิ่งเอี๊ยะ ซึ่งเป็นที่พึ่งทางใจของชาวไทยเชื้อสายจีนและชาวไทยในอำเภอบางบัวทองมานายกว่าร้อยปี

.

ศาลเจ้าพ่อจุ้ย บางบัวทอง สร้างขึ้นจากแรงศรัทธาของชาวจีนที่ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่อำเภอบางบัวทอง ตั้งแต่เริ่มขุดคลองพระพิมลราชา ซึ่งเดิมมีขนาดศาลเล็ก ๆ ที่พอจะประดิษฐานรูปปั้นเล็ก ๆ ไว้ภายในเท่านั้น ชาวจีนได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บริเวณใกล้ทำนบคลองพระพิมลราชา ขณะนั้นเกิดมีตลาดที่ริมทำนบ ที่ริมคลองพระพิมลราชา โดยลูกค้าคือชาวจีนที่มาเป็นลูกจ้างขุดคลอง และผู้ที่ได้ทำมาค้าขายกับผู้ที่อบยบเคลื่อนย้ายขยายพื้นที่มาทำนาทำสวนผัก ตลาดทำนบได้พัฒนามาเป็นตลาดชุมชนในเวลาต่อมา จนในปัจจุบันคือ ตลาดเทศบาลเมืองบางบัวทอง อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี

.

ตามความเชื่อถือของชาวจีนทั่วไป นิยมสร้างศาลเจ้าจุ้ย(จุ้ย=น้ำ)ประจำตลาดที่อยู่บริเวณริมแม่น้ำ เพื่อเป็นที่พึ่งพาทางจิตใจของผู้คนในตลาด ชาวจีนในอำเภอบางบัวทองขณะนั้นนับเคารพนับถือและเซ่นไหว้ศาลเจ้าพ่อจุ้ย ซึ่งศาลเจ้าพ่อจุ้ยนั้นตั้งอยู่บริเวณปากคลองบางบัวทองที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยา ปัจจุบันอยู่ในเขตพื้นที่การปกครองของอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

.

ต่อมาในวันหนึ่งมีชาวจีนผู้หนึ่งได้นำศาลไม้ขนาดเล็ก ๆ ที่ลอยมาในคลองพระพิมลราชา และลอยมาติดอยู่บริเวณหน้าตลาดทำนบ และได้นำขึ้นไว้หน้าตลาด ชาวจีนในตลาดทำนบจึงได้ร่วมกันตั้งศาลเจ้าเล็ก ๆ ขึ้นด้านทิศใต้ของตลาดริมคลองพระพิมลราชา และได้นำศาลไม้ขนาดเล็กมาตั้งไว้ในศาลที่สร้างขึ้นใหม่ ศาลเจ้าที่สร้างขึ้นจึงเป็นศาลเจ้าพ่อจุ้ยประจำตลาดทำนบ ตามความเชื่อถือของชาวจีนในตลาดได้ไปอัญเชิญขี้ธูปจากศาลเจ้าพ่อจุ้ยปากคลองบางบัวทองที่ชาวจีนบางบัวทองเคารพนับถืออยู่ นำมาบูชาที่ศาลเจ้าที่สร้างขึ้นใหม่นี้ด้วย ศาลเจ้าแห่งนี้จึงเป็นที่ประดิษฐานเจ้าพ่อจุ้ยมาเป็นเวลานานกว่า 100 ปีมาแล้ว ตลาดทำนบได้พัฒนาเป็นตลาดขนาดใหญ่ ทั้ง 2 ฝั่งคลองพระพิมลราชา ซึ่งเป็นตลาดเจ้าคุณและตลาดแม่ห้าง ชาวจีนจึงมาประกอบการค้าที่ในตลาดทั้ง 2 แห่งนี้มากขึ้น ศาลเจ้าพ่อจุ้ยยิ่งมีบทบาทในฐานะที่พึ่งพาทางจิตใจของผู้คนใสพื้นที่บางบัวทองมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะชาวไทยเชื้อสายจีนในตลาดบางบัวทอง ชาวจีนที่อาศัยในบางบัวทองส่วนใหญ่เป็นจีนแต้จิ๋ว ซึ่งเคารพเซ่นไหว้เทพเจ้าปึงเถ่ากง และเทพปึงเถ่าม่า นับถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งสวรรค์ที่คอยปกปักรักษาผู้คนให้อยู่เย็นเป็นสุข คุ้มครองให้พ้นจากอันตรายและภัยพิบัติต่าง ๆ สามารถดลบันดาลให้การประกอบกิจการ การค้าขายเจริญรุ่งเรือง ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธ์ธัญญาหารเจริญงอกงาม มีความอุดมสมบูรณ์ บันดาลโชคลาภให้เจริญรุ่งเรืองทั้งในด้านธุรกิจการค้า และในการดำรงชีวิตครอบครัว ชาวจีนแต้จิ๋วจึงนิยมสร้างศาลเจ้าประดิษฐานเทพปึงเถ่ากง-ม่า และมาขอพรเซ่นไหว้จากเทพทั้ง 2 องค์ รูปเคารพของเทพปึงเถ่ากง ทำเป็นรูปผู้ชาย นิยมทำด้วยไม้หรือโลหะ เป็นรูปเต็มองค์ บางศาลเจ้าทำเป็นแผ่นไม้หรือแผ่นหิน เขียนหรือแกะสลักตัวอักษรเป็นป้ายชื่อลงรักปิดทอง หรือเขียนด้วยสีทองอย่างสวยงาม ตั้งไว้บนแท่นบูชาอีกทีหนึ่งนอกจากรูปเคารพ ส่วนเทพปึงเถ่าม่าเป็นรูปผู้หญิง ประดิษฐานคู่กับรูปเทพปึงเถ่ากง

.

ที่ศาลเจ้าพ่อจุ้ย บางบัวทอง มีรูปเคารพของเทพปึงเถ่ากงและเทพปึงเถ่าม่า และเชื่อกันว่าเทพเจ้าแห่งสวรรค์ทั้งสององค์นี้ คือเจ้าพ่อจุ้ย คือเทพเจ้าปึงเถ่ากง เจ้าแม่ทองคำ คือเทพเจ้าปึงเถ่าม่า

ต่อมาคณะกรรมการบางบัวทองมูลนิธิ ได้มีมติรับศาลเจ้าพ่อจุ้ย บางบัวทอง ไว้ในการอุปถัมภ์ดูแล และให้มีคณะกรรมการชุดหนึ่งเข้ามาบริหารกิจการของศาลเจ้าพ่อจุ้ย บางบัวทอง ซึ่งมีวาระสี่ปี

ต่อมาศาลเจ้าพ่อจุ้ยหลังเดิมมีความทรุดโทรมมาก อีกทั้งยังเป็นศาลที่มีขนาดเล็ก กรรมการและชาวตลาดบางบัวทองได้มีดำริที่จะสร้างศาลเจ้าพ่อจุ้ยหลังใหม่ขึ้น แต่จากการเสี่ยงทายตามคติความเชื่อขอชาวไทยเชื้อสายจีนหลายครั้ง ผลการทำนาย เจ้าพ่อจุ้ยยังไม่อนุญาตให้สร้างศาลหลังใหม่ การก่อสร้างศาลหลังใหม่จึงถูกระงับการก่อสร้างมาตลอด จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2550 ผลการเสี่ยงทายปรากฎว่าเจ้าพ่อจุ้ยท่านอนุญาตให้สร้างศาลหลังใหม่ได้

.

คณะกรรมการบริหารศาลเจ้าพ่อจุ้ย ปี 2550 โดยมีนายชัยรัตน์ (ฮุย) พิพัฒน์วัชรนนท์ และคณะกรรมการชุดหนึ่ง ได้เริ่มดำเนินการรับบริจาคทรัพย์จากพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีนทุกกระกูลแซ่และผู้มีความศรัทธาปึงเถ่ากง-ม่าทั่วไป และเริ่มงานก่อสร้างศาลเจ้าพ่อจุ้ยหลังใหม่ขึ้น โดยมีการประกอบพิธียกเสาเอกศาลเจ้าพ่อจุ้ย บางบัวทอง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2550

.

การก่อสร้างศาลเจ้าพ่อจุ้ย บางบัวทอง ครั้งนี้ ต้องจัดซื้อที่ดินเพิ่มเพื่อขยายพื้นที่บริเวณศาลเจ้าให้มีความกว้างขึ้น และขนาดของตัวศาลเจ้าให้ใหญ่ขึ้น จึงได้ออกแบบเพื่อสร้างศาลเจ้าและโรงงิ้วอย่างถาวร โดยมีพื้นที่รวม 225 ตารางวา มิซซัง โรคาทอลิก กรุงเทพฯ ได้ร่วมบริจาคที่ดิน 25 ตารางวา และงบประมาณในการจัดซื้อที่ดินและก่อสร้างศาลเจ้าและอาคารต่าง ๆ รวมทั้งการปรับภูมิทัศน์รอบๆ ศาลเจ้าพ่อจุ้ย โดยใช้งบประมาณ 18 ล้านบาท ศาลเจ้าพ่อจุ้ยหลังใหม่สร้างแบบสถาปัตยกรรมจีน แบบชานเหอเอี้ยน เป็นแบบอาคารที่ขยายไปทางยาว สันหลังคาเป็นรูปมังกร 2 ตัว หันหน้าเข้าหากัน มีดวงอาทิตย์ที่เปล่งรังศรีอยู่กลางระหว่างพญามังกรทั้งสองหัว ปลายสันหลังคา เป็นรูปหงส์กำลังโผบิน

ด้านหน้าของอาคารมีประตูขนาดใหญ่ เปิดเข้าไปเป็นโถง ห้องกลางของศาลเป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นเจ้าพ่อจุ้ย-เจ้าแม่ทองคำ (เทพปึงเถ่ากงและเทพปึงเถ่าม่า) ห้องด้านข้างทางขวามือประดิษฐานรูปอวโลกิเตศวร เจ้าแม่กวนอิมโพธิสัตว์ ห้องด้านทางซ้ายมือ ประดิษฐานองค์ไฉ่สิ่งเอี๊ยะ เทพเจ้าผู้ประทานบันดาลโชค

ภายในอาคารศาลเจ้าพ่อจุ้ย มีการประดับตกแต่งด้วยศิลปะจีนที่งดงาม เสาด้านหน้า 2 ต้น ที่เป็นเสาห้องกลางที่ประดิษฐานเจ้าพ่อจุ้ย มีมังกรปูนปั้นฝีมืองามเกี่ยวกระหวัดรัดพันเสาและแสดงฤทธิ์ที่ดูน่าเกรงขาม

ด้านหน้าศาลเจ้าพ่อจุ้ย ริมคลองพระพิมลราชา มีศาลาโถงศิลปะจีน ประดิษฐานป้ายชื่อเทพดาฟ้าดิน ที่ทำด้วยหินแกรนิตขัดมันสีดำ แกะสลักอักษรจีน ปิดทองหน้าป้าย ตั้งโต๊ะวางเครื่องบูชาองค์เทพยดา มีชาวบ้านมากราบไหว้ และเซ่นไหว้ด้วยเครื่องทรงของขุนนางจีน และเครื่องเซ่นไหว้ต่าง ๆ เช่น ผลไม้ หมู เป็ด ไก่ กระดาษเงิน ทอง และเครื่องเซ่นไหว้อื่น ๆ แล้วแต่เหมาะสม และสมควรแก่ทุนทรัพย์ ที่กรรมการมิได้เจาะจง

ด้านหน้าสุดของศาลเจ้าพ่อจุ้ย ได้สร้างเป็นโรงงิ้ว ซึ่งเป็นโรงงิ้วถาวร ซึ่งหันหน้าเข้าหาศาลเจ้าพ่อจุ้ย

ครั้นเมื่อศาลเจ้าพ่อจุ้ยหลังใหม่ได้สร้างสำเร็จเสร็จสิ้นแล้ว คณะกรรมการจัดสร้างศาลเจ้าพ่อจุ้ย ได้จัดงานฉลองและมีการสมโภชน์ศาลเจ้าพ่อจุ้ยหลังใหม่ และยังได้จัดพิธีอันเชิญเจ้าพ่อจุ้ยขึ้นประดิษฐานที่ศาลาหลังใหม่ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552

.

ในการจัดฉลองศาลเจ้าพ่อจุ้ยหลังใหม่นี้ คณะกรรมการจัดงานกำหนดให้มีทั้งพิธีแบบชาวจีนและพิธีแบบชาวไทยพุทธ โดยกำหนดให้มีการฉลองและสมโภชน์ศาลเจ้าพ่อจุ้ย-เจ้าแม่ทองคำ (ปึงเถ่ากง-ม่า) จัดขึ้น3 คืน คือในวันที่ 26 ถึงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เป็นพิธีอัญเชิญเจ้าพ่อจุ้ย-เจ้าแม่ทองคำ (ปึงเถ่ากง-ม่า) จากศาลเจ้าหลังเดิม ขึ้นประดิษฐานที่แท่นประทับในศาลหลังใหม่ และประกอบพิธีเบิกเนตรโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิม และเทพเจ้าไฉ่สิ่งเอี๊ยะ และพิธีเปิดป้ายศาลเจ้าพ่อจุ้ย บางบัวทอง

.

วันที่ 27 ธันวาคม 2552 ได้ประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และถวายภัตตราหารเพลแด่พระสงฆ์ โดยได้อาราธนาพระสงฆ์ 9 รูป มาประกอบพิธี

.

วันที่ 28 ธันวาคม 2552 ได้มีงานเลี้ยงฉลอง ในพิธีเปิดป้ายศาลเจ้าพ่อจุ้ยหลังใหม่ ในงานฉลองศาลเจ้าพ่อจุ้ยหลังใหม่ มีการสมโภชน์ ด้วยากรแสดงงิ้วฉลอง 3 คืน

.

ต่อมาในปี 2558 คุณธีรศักดิ์ (กี่ฮั้ว) แซ่ตั้ง ได้รับเป็นประธานบริหารศาลเจ้าพ่อจุ้ย บางบัวทอง และได้อัญเชิญรูปปั้นจำลองเจ้าพ่อจุ้ย-เจ้าแม่ทองคำ และท่งฮวง (ฉัตร) มาจากประเทศจีน ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าองค์จริงประทับในศาลเจ้าพ่อจุ้ย บางบัวทอง (ในศาลหลังเดิม)

และในปี 2562 คุณพรอนันต์ (กี่) สุขประเสริฐชัย ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานบางบัวทองมูลนิธิ และคุณนุกุล (นั้ม) สามัคยานุสรณ์ ได้รับเป็นประธานบริหารศาลเจ้าพ่อจุ้ย บางบัวทอง ถึงปัจจุบัน ( ก.พ.2563 )

.

ในอดีตพื้นที่ส่วนหนึ่งของตลาดบางบัวทองด้านทิศเหนือของคลองพระพิมลราชาได้เกิดอัคคีภัย ครั้งนั้น มีร่างทรงลงประทับในนามเจ้าพ่อจุ้ย (อากง) ท่านได้ให้คำแนะนำว่าให้มีการแห่รูปปั้นเจ้าพ่อจุ้ย เจ้าแม่ทองคำ ไปรอบ ๆ ตลาดบางบัวทอง และพิธีศักดิ์สิทธิ์ คือพิธีการดับไฟ เพื่อป้องกันภัยพิบัติ และเพื่อความเจริญรุ่งเรืองและความอยู่เย็นเป็นสุขของบ้านเมืองและท้องถิ่น ต่อมาจึงได้นับว่าเป็นประเพณีแห่เจ้าพ่อจุ้-เจ้าแม่ทองคำ (ปึงเถ่ากง-ม่า)ได้ปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่อง ชาวไทยเชื้อสายจีนและชาวไทยทั่วไปที่มีความเลื่อมใสศรัทธาพิธีนี้อย่างมาก โดยพิธีดับไฟนี้จะปฏิบัติในระยะเวลา ๑๒ ปีหนึ่งครั้งในรอบปีนักษัติ และในปี ๒๕๖๓ นี้ เป็นปีที่ครบรอบ ๑๒ปีนักษัติ คุณนุกุล สามัคยานุสรณ์ ประธานจัดงานและคณะกรรมการบริหารศาลเจ้าพ่อจุ้ย ได้จัดงานประเพณีแห่เจ้าพ่อจุ้ย-เจ้าแม่ทองคำ (ปึงเถ่ากง-ม่า) และพิธีดับไฟ เพื่อป้องกันภัยพิบัติ ได้จัดขึ้น ในวันเสาร์ที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2893 เวลา ๐๗.๓๐ น.-เวลา ๑๓.๐๐ น.

.

ศาลเจ้าพ่อจุ้ย บางบัวทอง ตั้งอยู่ บริเวณริมคลองพระพิมลราชา ฝั่งทิศใต้ หลังตลาดสดเทศบาลเมืองบางบัวทอง ตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี

ศาลเจ้าพ่อจุ้ย บางบัวทอง เป็นที่ประดิษฐานเจ้าพ่อจุ้ย-เจ้าแม่ทองคำ พระอวโลกิเตศวน กวนอิมโพธิสัตว์ และเทพไฉ่ซิ่งเอี๊ยะ ซึ่งเป็นที่พึ่งทางใจของชาวไทยเชื้อสายจีนและชาวไทยในอำเภอบางบัวทองมานายกว่าร้อยปี

.

ศาลเจ้าพ่อจุ้ย บางบัวทอง สร้างขึ้นจากแรงศรัทธาของชาวจีนที่ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่อำเภอบางบัวทอง ตั้งแต่เริ่มขุดคลองพระพิมลราชา ซึ่งเดิมมีขนาดศาลเล็ก ๆ ที่พอจะประดิษฐานรูปปั้นเล็ก ๆ ไว้ภายในเท่านั้น

ชาวจีนได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บริเวณใกล้ทำนบคลองพระพิมลราชา ขณะนั้นมีตลาดที่ทำนบ ชาวจีนได้ทำมาค้าขายที่ตลาดทำนบ ตลาดทำนบได้พัฒนามาเป็นตลาดชุมชนในเวลาต่อมา จนในปัจจุบันคือ ตลาดเทศบาลเมืองบางบัวทอง อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ตามความเชื่อถือของชาวจีนทั่วไป นิยมสร้างศาลเจ้าประจำตลาด เพื่อเป็นที่พึ่งพาทางจิตใจของผู้คนในตลาด ชาวจีนในอำเภอบางบัวทองขณะนั้นนับถือและเซ่นไหว้เจ้าพ่อจุ้ย ที่ศาลเจ้าพ่อจุ้ยปากคลองบางบัวทอง ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอปากเกร็ด

.

ต่อมาในวันหนึ่งมีผู้นำศาลไม้ขนาดไม่ใหญ่นักที่ลอยมาในคลองพระพิมลราชา และลอยมาติดอยู่หน้าตลาดทำนบ และได้นำขึ้นไว้หน้าตลาด ชาวจีนในตลาดทำนบจึงได้ร่วมกันตั้งศาลเจ้าเล็ก ๆ นั้น และนำศาลไม้ขนาดเล็กมาไว้ในศาลที่สร้างขึ้น ศาลเจ้าที่สร้างขึ้นจึงเป็นศาลเจ้าประจำตลาดทำนบ ตามความเชื่อถือของชาวจีนในตลาดและได้ไปเชิญขี้ธูปจากศาลเจ้าพ่อจุ้ยปากคลองบางบัวทองที่ชาวจีนบางบัวทองเคารพนับถืออยู่ นำมาบูชาที่ศาลเจ้าที่สร้างขึ้นด้วย ศาลเจ้าแห่งนี้จึงเป็นที่ประดิษฐานเจ้าพ่อจุ้ยมาเป็นเวลานานกว่า 100 ปีมาแล้ว ตลาดทำนบได้พัฒนาเป็นตลาดขนาดใหญ่ ทั้ง 2 ฝั่งคลองพระพิมลราชา ซึ่งเป็นตลาดเจ้าคุณและตลาดแม่ห้าง ชาวจีนจึงมาประกอบการค้าที่ในตลาดทั้ง 2 แห่งนี้มากขึ้น ศาลเจ้าพ่อจุ้ยยิ่งมีบทบาทในฐานะที่พึ่งพาทางในของอำเภอบางบัวทองมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะชาวจีนในตลาดบางบัวทอง ชาวจีนที่อำเภอบางบัวทองส่วนใหญ่เป็นจีนแต้จิ๋ว ซึ่งเคารพเซ่นไหว้เทพปุนเถ้ากง และเทพปุนเถ้าม่า นับถือว่าเป็นเทพที่คอยปกป้องรักษาผู้คนให้อยู่เย็นเป็นสุข คุ้มครองให้พ้นจากอันตรายและภัยพิบัติต่างๆ สามารถดลบันดาลให้พืชพันธ์ธัญญาหารเจริญงอกงาม ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล มีความอุดมสมบูรณ์ บันดาลโชคลาภให้เจริญรุ่งเรืองทั้งในด้านธุรกิจการค้า และในการดำรงชีวิตครอบครัว ชาวจีนแต้จิ๋วจึงนิยมสร้างศาลเจ้าประดิษฐานเทพปุนเถ้ากงและเทพปุนเถ้าม่า และขอพรเซ่นไหว้จากเทพทั้ง 2 องค์ รูปเคารพของเทพเถ้ากง นิยมทำเป็นรูปผู้ชายนิยมทำด้วยไม้หรือโลหะ เป็นรูปเต็มองค์ บางศาลเจ้าทำเป็นแผ่นไม้หรือแผ่นหิน เขียนหรือแกะสลักตัวอักษรเป็นป้ายชื่อลงลักปิดทอง หรือเขียนด้วยสีทองอย่างสวยงาม ตั้งไว้บนแท่นบูชาอีกทีหนึ่งนอกจากรูปเคารพ ส่วนเทพปุนเถ้าม่าเป็นรูปผู้หญิง ประดิษฐานคู่กับรูปเทพปุนเถ้ากง

.

ที่ศาลเจ้าพ่อจุ้ย บางบัวทอง มีรูปเคารพของเทพปุนเถ้ากงและเทพปุนเถ้าม่า และเชื่อกันว่าเจ้าพ่อจุ้ยคือเทพปุนเถ้ากง

ศาลเจ้าพ่อจุ้ยหลังเดิมเป็นศาลที่มีขนาดเล็กและทรุดโทรม ชาวตลาดบางบัวทองได้ดำริที่จะสร้างศาลเจ้าพ่อจุ้ยหลังใหม่ แต่จากการเสี่ยงทายตามคติความเชื่อของจีนหลายครั้ง ผลการทำนาย เจ้าพ่อจุ้ยไม่อนุญาตให้สร้างศาลหลังใหม่ การก่อสร้างศาลหลังใหม่จึงถูกระงับตลอดมาจนถึง พ.ศ. 2550 ผลการเสี่ยงทายให้สร้างศาลหลังใหม่ได้

คณะกรรมการศาลเจ้าพ่อจุ้ยจึงได้สร้างศาลเจ้าพ่อจุ้ยหลังใหม่ ซึ่งมีนายชัยรัตน์ พิพัฒน์วัชรานนท์ ประธานกรรมการดำเนินงาน ได้เริ่มก่อสร้างศาลเจ้าพ่อจุ้ยหลังใหม่ มีพิธียกเสาเอกศาลเจ้า เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2550 การก่อสร้างต้องจัดซื้อที่ดินเพื่อสร้างศาลเจ้าและโรงงิ้วถาวร จำนวน 225 ตารางวา มิซซังโรคาทอลิก กรุงเทพฯ บริจาคที่ดิน 25 ตารางวา งบประมาณในการจัดซื้อที่ดินและอาคารต่างๆ รวมทั้งการปรับภูมิทัศน์รอบๆ ศาลเจ้าพ่อจุ้ย ประมาณ 18 ล้านบาท ศาลเจ้าพ่อจุ้ยหลังใหม่สร้างแบบสถาปัตยกรรมจีน แบบชานเหอเอี้ยน เป็นแบบอาคารที่ขยายไปทางยาว สันหลังคาเป็นรูปมังกร 2 ตัว หันหน้าเข้าหากัน มีดวงอาทิตย์ที่เปล่งรังศรีอยู่กลางระหว่างยามังกรทั้งสองหัว ปลายสันหลังคาเป็นรูปหงส์กำลังโผบิน

.

ด้านหน้าของอาคารมีประตูขนาดใหญ่ เปิดเข้าไปเป็นโถง ห้องกลางเป็นที่ประดิษฐานเจ้าพ่อจุ้ย เทพปุนเถ้ากง และเทพปุนเถ้าม่า ห้องด้านข้างทางขวามือประดิษฐานรูปเจ้าแม่กวนอิม ห้องด้านทางซ้ายมือประดิษฐานองค์ไฉ่สิ่งเอี๊ยะ

ภายในอาคารศาลเจ้าพ่อจุ้ย มีการประดับตกแต่งด้วยศิลปะจีนที่งดงาม เสาด้านหน้า 2 ต้น ที่เป็นเสาห้องกลางที่ประดิษฐานเจ้าพ่อจุ้ย มีมังกรปูนปั้นฝีมืองามเกี่ยวกระหวัดรัดพันเสาและแสดงฤทธิ์ที่ดูน่าเกรงขาม

ด้านหน้าศาลเจ้าพ่อจุ้ย ริมคลองพระพิมลราชา มีสาลาโถงศิลปะจีน ประดิษฐานป้ายชื่อเทพปุนเถ้ากง ที่ทำด้วยหินแกรนิตขัดมันสีดำ แกะสลักอักษรจีน ปิดทองหน้าป้าย ตั้งโต๊ะวางเครื่องบูชาเจ้าพ่อ มีชาวบ้านมากราบไหว้ และเซ่นไหว้ด้วยเครื่องทรงของขุนนางจีน และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ

.

ด้านหน้าสุดของศาลเจ้าพ่อจุ้ย ได้สร้างเป็นโรงงิ้ว เป็นโรงงิ้วถาวรหันหน้าเข้าหาศาลเจ้าพ่อจุ้ย

.

ศาลเจ้าพ่อจุ้ยหลังใหม่ได้สร้างสำเร็จ คณะกรรมการจัดสร้างศาลเจ้าพ่อจุ้ย (หลังใหม่) ได้จัดงานฉลองศาลเจ้าพ่อจุ้ยหลังใหม่และได้จัดพิธีอันเชิญเจ้าพ่อจุ้ยขึ้นประดิษฐานที่ศาลาหลังใหม่ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ในการจัดฉลองศาลเจ้าพ่อจุ้ยหลังใหม่มีทั้งพิธีแบบชาวจีนและพิธีแบบชาวไทย ในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เป็นพิธีอัญเชิญเจ้าพ่อจุ้ยจากศาลหลังเดิมขึ้นประดิษฐานที่ศาลหลังใหม่ พิธีเปิดเนตรเจ้าแม่กวนอิม และองค์ไฉ่สิ่งเอี๊ยะ และพิธีเปิดป้ายศาลเจ้าพ่อจุ้ยบางบัวทอง

.

วันที่ 27 ธันวาคม 2552 มีพิธีสงฆ์ พระสงฆ์ 9 รูป เจริญพระพุทธมนต์ และถวายภัตตราหารเพลแก่พระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์

.

วันที่ 28 ธันวาคม 2552 การเลี้ยงฉลองพิธีเปิดป้ายศาลเจ้าพ่อจุ้ยหลังใหม่ ในงานฉลองศาลเจ้าพ่อจุ้ยหลังใหม่ มีการแสดงงิ้วฉลองตั้งแต่วันที่ 26 ถึงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552

.

ต่อมาในปี 2558 คุณธีรศักดิ์ (กี่ฮั้ว) แซ่ตั้ง ได้รับเป็นประธานบริหารศาลเจ้าพ่อจุ้ย บางบัวทอง และได้อัญเชิญรูปปั้นจำลองเจ้าพ่อจุ้ย-เจ้าแม่ทองคำ และท่งฮวง (ฉัตร) มาจากประเทศจีน ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าองค์จริงที่ประทับในศาลเจ้าพ่อจุ้ย บางบัวทอง

.

และในปี 2562 คุณพรอนันต์ (กี่) สุขประเสริฐชัย ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานบางบัวทองมูลนิธิ และคุณนุกุล (นั้ม) สามัคยานุสรณ์ ได้รับเป็นประธานบริหารศาลเจ้าพ่อจุ้ย บางบัวทอง ถึงปัจจุบัน ( ก.พ.2563 ) และได้เป็นประธานจัดงานประเพณีแห่เจ้าพ่อจุ้ย-เจ้าแม่ทองคำ (ปึงเถ่ากง-ม่า)และพิธีดับไฟ เพื่อป้องกันภัยพิบัติกับบ้านเมืองและท้องถิ่น และเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ของผู้เลี่อมใสศรัทธา ในวันเสาร์ที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ ๒๕๖๓ ตั้งแต่เวลา ๐๗.๓๐ น.ถึง ๑๓.๐๐ น.

แสดงความคิดเห็น